วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติ และความเป็นมาของอนุญาโตตุลาการ

History and the background of arbitrator

นาย วิริยะ พรรคพิง
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การอนุญาโตตุลาการได้มีการก่อกำเนิดขึ้นมาเป็นเวลานาน และมีการวิวัฒนาการมาเป็นข้อบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้ในการระงับข้อพิพาท โดยมีการสอดแทรกอยู่ในข้อกฎหมายทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่กฎหมายจักรวรรดิโรมัน กฎหมายสิบสองโต๊ะ โดยมีการกำหนดให้คนกลางเป็นผู้ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาท ในประเทศไทยมีอยู่ในกฎหมายตราสามดวงซึ่งมีการตั้งเป็นตระลาการมีการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ ต่อมาปี พ.ศ. 2530 มีการตราเป็นพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ และต่อมาประเทศไทยได้มีการพัฒนาการทางกฎหมายเพื่อให้เป็นสากลมากขึ้นและประเทศไทยได้มีการพัฒนาขึ้นจากสัญญามาตรฐานของ FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) มีเนื้อหาและใจความกล่าวในด้านระบบและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นหลัก

Abstract

Arbitrator has the rise upwarded for long ago and have something the evolution comes to are law regulations which use in dispute suppression by have the insertion is putting in in every every matters of age time law since , empire Roman law , the twelve law is table by have the specification gives a middleman is duty inventor holds over the dispute in Thailand exists in the first Thai enacted law which there is standing is having havingappointed donkey from the great king. Later year 2530 Buddhist Eras have the enactment s are act of arbitrator legislation and later Thailand has legislativing development for universal more and more and Thailand has the development go up from promise the standard of FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) there is the substance and the essence deliver a speech in the sense of the system and arbitrator procedure are a principle.

Keyword: การวิวัฒนาการอนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการ ตุลาการ

1. บทนำ
การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นวิธีระงับข้อพิพาทซึ่งคู่พิพาทตกลงกันตั้งบุคคลที่สาม ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างกัน และเมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดอย่างใดแล้วย่อมผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นในทางวิศวกรรมก่อสร้าง ในปัจจุบันสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ตามโครงการต่างๆที่ เกิดขึ้น ทั้งโครงการขนาดใหญ่ และโครงการขนาดเล็ก ทั้งเป็นการร่วมกันลงทุนกับต่างชาติ และทุนโดยเจ้าของคนเดียว ทั้งเกิดโดยผลแห่งผลแห่งสัญญาก่อสร้าง และสัญญาทางการค้า ดังนั้นวิศวกรจึงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญาก่อสร้าง และวิธีระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ
2. ประวัติ และความเป็นมาของอนุญาโตตุลาการ
การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการเริ่มมีขึ้นมายาวนานตามวิวัฒนาการของกฎหมาย ดังหลักฐานที่ปรากฏตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน โดยในกฎหมายสิบสองโต๊ะได้บัญญัติให้มีคนกลางเป็นอนุญาโตตุลาการ ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินในกฎหมายอังกฤษ
ความจำเป็นในการที่ต้องมีการควบคุมการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการได้เริ่มขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 โดยในประเทศอังกฤษได้มีการกำหนดวิธีดำเนินงานของอนุญาโตตุลาการไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2240 ต่อมาใน พ.ศ. 2397 ได้มีการรวบรวมหลักกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการที่กระจัดกระจายอยู่ในกฎหมายต่าง ๆ มาไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความ และเมื่อจำนวนข้อพิพาททางแพ่งมากขึ้นตามพัฒนาการของกิจการพาณิชย์ต่าง ๆ รัฐสภาอังกฤษจึงตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2432 มีเนื้อหาเป็นการประมวลหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการไว้ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา
ส่วนในประเทศไทย ปรากฏหลักฐานว่า ในกฎหมายตราสามดวงมีการบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งตระลาการโดยคู่ความ ซึ่งแตกต่างจากตระลาการที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และต่อมาในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2477 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เรื่องอนุญาโตตุลาการในศาลและนอกศาลไว้ กับทั้งได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล
อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาททางแพ่งประเภทหนึ่งซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะของกระบวนการระงับข้อพิพาทได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Conciliator) คือ บุคคลที่สามซึ่งคู่กรณีพิพาทตกตกลงกันให้เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความกัน โดยคู่กรณีพิพาทแต่ละฝ่ายต่างยินยอมผ่อนผันข้อเรียกร้องของตน และแต่ละฝ่ายจะได้รับสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแทน ในกระบวนการระงับข้อพิพาทนั้นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีหน้าที่เพียงไกล่เกลี่ยให้มีการประนีประนอมยอมความกัน ไม่มีอำนาจบังคับหรือตัดสินการใด ๆ ในการเจรจานั้น แต่อาจเสนอแนวทางในการตกลงกันของคู่กรณีพิพาทได้
2. อนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) คือ บุคคลที่สามซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันให้ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเรียกว่า "สัญญาอนุญาโตตุลาการ" ในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการจะเปิดโอกาสให้คู่กรณีพิพาทแสดงข้อเรียกร้องและข้อต่อสู้พร้อมทั้งนำพยานหลักฐานต่าง ๆ มาสืบเพื่อรับฟังข้อเท็จจริง ตลอดจนสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาตามวัน เวลา และสถานที่ตามที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันได้ รวมทั้งคู่กรณีพิพาทสามารถตกลงกันกำหนดวิธีพิจารณาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพื่อใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาแก่ข้อพิพาทได้ และเมื่อรับฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในการดำเนินกระบวนพิจารณาแล้ว อนุญาโตตุลาการจึงมีคำวินิจฉัยข้อพิพาทได้
3. ตุลาการ (Justice) หรือผู้พิพากษา (Judge) คือ ผู้มีหน้าที่ตามที่กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติให้ชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ด้วยการมีคำสั่งหรือคำพิพากษาคดีที่มาสู่ศาลในกรณีที่คู่ความไม่อาจตกลงไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทกันได้ นอกจากนี้ ในกรณีพิพาทซึ่งไม่เป็นกรณีอันต้องยื่นต่ออนุญาโตตุลาการตามที่กฎหมายกำหนด และคู่ความได้ยื่นฟ้องศาลแล้ว ตุลาการหรือผู้พิพากษาอาจไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกันในศาลหรืออาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการในศาลตามที่กฎหมายกำหนดไว้มาใช้บังคับก็ได้ ตามแต่เห็นสมควร
ในโครงการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการประเภทใดมักจะเกิดความขัดแย้งในด้านต่างๆได้เสมอและเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ หากคู่กรณีไม่สามารถหาข้อยุติในความขัดแย้งนั้นได้ก็จะเกิดเป็นข้อพิพาทขึ้น วิธีอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการระงับยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้างและมีการยอมรับกันโดยทั่วไปในสากล โดยหลักการคือคู่กรณีจะเลือกบุคคลที่เป็นอนุญาโตตุลาการตัวแทนของแต่ละฝ่ายมาหาข้อยุติร่วมกัน หากตัวแทนทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะต้องแต่งตั้งบุคคลที่สามเพื่อเป็นอนุญาโตตุลาการผู้ตัดสินชี้ขาด
วิธีอนุญาโตตุลาการนี้มีข้อเด่นที่การให้คู่กรณีมีโอกาสในการยุติข้อพิพาทกันเอง สามารถจะรักษาความลับได้ และที่สำคัญผลคำตัดสินของวิธีนี้จะผูกพันคู่กรณีได้ตามกฎหมาย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะให้ความคุ้มค่าในการแก้ไขข้อขัดแย้งและจะยุติข้อพิพาทใดๆ ดังนั้นข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีการตกลงร่วมกันของคู่สัญญาก่อสร้างจะเป็นรูปแบบการประกันความสูญเสียอีกแบบหนึ่ง หากคู่สัญญาก่อสร้าง ไม่ได้มีการกำหนดแนวทางและการใช้สัญญาระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการทำสัญญา เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นเจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก่อสร้างอาจจะนำกรณีพิพาทนั้นไปฟ้องต่อศาล ทำให้คดีอยู่ในการควบคุมและดำเนินไปโดยทนายความของคู่กรณีและข้อยุติจะขึ้นอยู่กับการตัดสินของศาล ในลักษณะนี้คู่สัญญาก่อสร้างจะเสียโอกาสในการใช้สิทธิของตนในการยุติข้อพิพาทด้วยกันเอง ในสัญญามาตรฐานงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ
ไทยที่พัฒนาขึ้นจากสัญญามาตรฐานของ FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) มีเนื้อหาและใจความกล่าวในด้านระบบและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นหลัก แต่ไม่ได้กล่าวในด้านกรอบของสิทธิที่คู่สัญญาก่อสร้างจะนำสัญญานี้มาใช้ได้เพียงใด
ดังนั้นปัญหาดังกล่าวในทางปฏิบัติเมื่อคู่สัญญาไม่ได้หยิบยกข้อสัญญานี้ขึ้นมาใช้เพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิและความผูกพันในการใช้ได้เพียงใด อาจมีการตัดปัญหาดังกล่าวโดยใช้วิธีการตกลงนอกรอบหรือเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งบางกรณีสัญญาก่อสร้างหรือเอกสารประกอบสัญญาจะให้อำนาจกับฝ่ายรัฐเป็นผู้ชี้ขาดฝ่ายเดียว จะเกิดเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่อาจไม่เป็นธรรมในบางกรณีได้ ดังนั้นการได้ใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการ จะเป็นวิธีทางหนึ่งที่จะทำให้ข้อพิพาทต่างๆได้รับการแก้ไขอย่างมีระบบและเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
อีกปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่น่าสนใจในวงการก่อสร้าง คือ ส่วนใหญ่คู่กรณีพิพาทจะเลือกอนุญาโตตุลาการที่เป็นตัวแทนของตน เป็นนักกฎหมายมากกว่าการเลือกผู้มีวิชาชีพทางการก่อสร้างเนื่องจากยังขาดความรู้และเข้าใจในหลักการใช้วิธีทางอนุญาโตตุลาการ การเลือกนักกฎหมายเป็นอนุญาโตตุลาการนี้จะเกิดปัญหาการทำความเข้าใจในการก่อสร้าง เพราะไม่สามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาอย่างแท้จริง
ดังนั้นในทางปฏิบัติจะต้องมีการแต่งตั้งวิศวกรคนกลางมาทำหน้าที่ในการสรุปประเด็นกรณีข้อพิพาทนั้นก่อนที่มีการตัดสินชี้ขาด จะทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาและไม่เกิดประสิทธิภาพในการพิจารณาประเด็นข้อพิพาท ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการศึกษาถึงปัญหาการใช้ และศึกษาแนวทางในการพิจารณาใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการให้ชัดเจนเพื่อคู่สัญญาก่อสร้างจะสามารถรักษาสิทธิในการใช้สัญญานี้ตามเจตนาที่ได้ตกลงกันไว้ การศึกษานี้จะช่วยเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้มีวิชาชีพวิศวกรโยธา สถาปนิก นำไปพิจารณาใช้ในฐานะอนุญาโตตุลาการ (Arbitrator) เจ้าของโครงการในฐานะผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างในฐานะผู้รับจ้างและกับวงการวิศวกรรมก่อสร้าง

3. สรุป
เพื่อเป็นการศึกษาถึงประวัติ ความเป็นมา และวิวัฒนาการของอนุญาโตตุลาการในอดีต และวิวัฒนาการอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย รวมถึงให้วิศวกรด้านการตรวจสอบทราบถึงประวัติความเป็นมาของอนุญาโตตุลาการ

กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ และขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็ปไซด์กูเกิลล์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงขอขอบพระคุณนักวิชาการในด้านกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการในงานวิศวกรรมที่มิได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้
ท้ายที่สุดนี้ขอขอบพระคุณ คณะอาจารย์ ผู้บริหารโครงการพิเศษ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนในการศึกษาค้นคว้า เรื่องการอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับงานวิศวกรรม จึงทำให้เกิดเป็นบทความเรื่องนี้ขึ้น

เอกสารอ้างอิง

[1] สำนักงานระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม,2552. คู่มือการระงับข้อพิพาทสำหรับประชาชน. 9,500เล่ม. พิมพ์ครั้งที่5. นนทบุรี : เพชรรุ่งการพิมพ์.
[2] เรือเอก อานนท์ ไทยจำนง, 2548. ปัญหาและแนวทางการใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการเพื่อการระงับ/ยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้าง กรณีสัญญาก่อสร้างงานราชการ.บัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] มั่น ศรีเรือนทอง, 2541. อนุญาโตตุลาการสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและงานก่อสร้าง. วารสารโยธาสาร 10, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2541) : 30-31.
[4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 10 พฤศจิกายน 2552. อนุญาโตตุลาการ. http://th.wikipedia.org/wiki/อนุญาโตตุลาการ.


ประวัติผู้เขียน และผู้เขียนร่วม
นายวิริยะ พรรคพิง กศ.บ.(วิทยาศาสตร์-เคมี)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสาคราม
ตำแหน่งหัวหน้ากะ บริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด(มหาชน)